วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555


หลักการนำเสนอผลงาน
การกำหนดจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ   ดังนี้
1.เกิดประโยชน์ทั้งต่อฝ่ายผู้นำเสนอและผู้รับการนำเสนอ
2.คำนึงถึงผู้รับการนำเสนอเป็นหลัก
3.มีจุดมุ่งหมายที่มีความเป็นไปได้
4.ไม่กำหนดจุดมุ่งหมายมากหลากหลายจนเกินไป
5.กำหนดจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์
ความหมายของการนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล หมายถึง การสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น หรือความต้องการไปสู่ผู้รับสาร โดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆ อันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ
ความสำคัญของการนำเสนอ
            ในปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจ ทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลเสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุม หรือผู้ที่เป็นหัวหน้างานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนำเสนอ เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆ และเพื่อผลสำเร็จของการพัฒนางานของตน
เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน
ปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนองานมีมากมายหลายชนิด สามารถเลือกใช้ให้เหมาะสม
กับการนำเสนอ เช่น
1. เครื่องพิมพ์ ใช้ในการพิมพ์ข้อความ คำอธิบาย เนื้อหาสาระ
ของงานที่จะนำเสนอ มีทั้งชนิดที่ ใช้กระแสไฟฟ้าและไม่ใช้กระแสไฟฟ้า
2. เครื่องเสียงและเครื่องขยายเสียง ใช้ในการบันทึกเสียงหรือ
กระจายเสียง ในการนำเสนอรูปแบบของการบรรยาย เพื่อให้ผู้รับฟังได้ยิน
3. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอ
ข้อมูลขึ้นจอภาพขนาดใหญ่ ทำให้ผู้รับสามารถมองเห็นภาพ หรือ
ข้อความชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้อใช้ควบคู่กันกับแผ่นใส (แผ่น
พลาสติกใสที่ใช้สำหรับเขียน พิมพ์ ข้อความและหรือพิมพ์ รูปภาพ
ลงไป)
4. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์นำเสนอ คอมพิวเตอร์จัดเป็น
เครื่องมือทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งสามารถนำมาใช้นำเสนอแทน
เครื่องมือดังกล่าวข้างต้นได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพสูง สามารถ
เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆในหลายรูปแบบ คอมพิวเตอร์ จึงสามารถนำเสนอ
ข้อมูลได้ทุกรูปแบบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ซอฟต์แวร์ในการ
ประมวลผล แล้วนำเสนอผ่านอุปกรณ์แสดงผลและอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
โดยทั่วไปอุปกรณ์แสดงผลของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการนำเสนอและพบเห็นกันอยู่ คือ
4.1 เครื่องพิมพ์ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ มีทั้งพิมพ์สีต่างๆ ได้
พิมพ์เฉพาะขาวดำ สามารถพิมพ์ข้อความและ
รูปภาพได้ โดยผ่านทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์
4.2 จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่มีคู่
มากับเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปร่างลักษณะและ
การทำงานคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์
เราสามารถเห็นงาน หรือข้อมูลรูปภาพได้จาก
หน้าจอ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาหลากหลาย
รูปแบบ
รูปแบบการนำเสนอ
รูปแบบการนำเสนอผลงาน
              การนำเสนอบทความวิจัยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
 1. การนำเสนอแบบบรรยาย
การบรรยาย (lecture) เป็นวิธีการนำเสนองานที่สามารถถ่ายทอดความรู้ และทักษะให้ผู้เรียนได้ครั้งละมากๆ แต่การบรรยายก็ต้องอาศัยเทคนิคการนำเสนอและความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และทักษะของผู้บรรยายเป็นสำคัญ การบรรยายมักเป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการให้การฝึกอบรมแบบชั้นเรียนเมื่อมีสินค้าใหม่ หรือเมื่อผู้รับผิดชอบเห็นว่าจำเป็นต้องให้ความรู้หรือพัฒนาผู้เกี่ยวข้องพร้อมกันครั้งละหลายคน แต่บ่อยครั้งที่ผู้เรียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้สึกว่าการบรรยายน่าเบื่อและแม้ระหว่างการฟังบรรยายก็มีความรู้สึกเกิดขึ้นในใจแล้วว่าเป็นการให้ความรู้หรือการอบรมที่ไม่ได้ผล
2. การนำเสนอแบบโปสเตอร์
วิธีการนำเสนอแบบโปสเตอร์
1. การวางแผน (Planning)
สำหรับโปรแกรมที่ใช้การออกแบบโปสเตอร์ แล้วแต่ความถนัด บางคนอาจใช้ Illustrator แต่ของโมนาใช้แค่ PowerPoint โปรแกรมที่ใช้ได้แก่
Microsoft Word
Microsoft Powerpoint
Microsoft Publisher
Photoshop
Illustrator
นอกจากนั้นเรายังสามารถ download แม่แบบเพื่อออกแบบโปสเตอร์ได้จาก web site เหล่านี้
web site สำหรับ download แม่แบบ
สำหรับการนำเสนอ เราควรใช้โปสเตอร์ช่วยในการนำเสนอ เหมือนกับ guide นำเที่ยว ลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก web เหล่านี้ได้
การออกแบบโปสเตอร์
ถ้าออกแบบโปสเตอร์ไม่ดี ผู้ชมก็จะขาดความสนใจความรู้ที่นักวิจัยพยายามเสนอ ตรงกันข้าม ถ้าออกแบบโปสเตอร์ได้ดี สะดุดตาผู้ชม ผู้ชมก็จะเข้ามาติดตามอ่านจนเห็นความสำคัญของงานที่เสนอได้ ในการออกแบบนี้  นอกจากจะต้องออกแบบให้ดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมแล้ว ยังต้องออกแบบให้สะดวกต่อการขนส่งด้วย (นำติดตัว)
            เพื่อให้โปสเตอร์อ่านได้ง่าย ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ
1.  ใช้ตัวหนังสือที่สามารถอ่านได้ในระยะ 3-4 ฟุต และควรเป็นตัวอักษรที่อ่านได้ง่าย ถ้าใช้ตัวหนังสือเล็กไปจะทำให้ผู้ชมเพียงแต่มองผ่านไปโดยไม่คิดจะหยุดอ่าน/ให้ความสนใจ เมื่อใช้ภาษาอังกฤษ เนื้อความภายในไม่ควรใช้อักษรตัวใหญ่ทุกตัวเพราะอ่านยาก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวหนังสือ/ตัวเลขที่เขียนไว้ข้างบน (superscript) หรือเขียนไว้ข้างล่าง (subscript) เพราะอ่านยาก
เช่นกัน   
ใช้ติดโปสเตอร์ ช่วยเพิ่มความงามและดึงดูดสายตาได้ดี  
3.  เนื้อความในโปสเตอร์ควรสรุปให้สั้นและตรงประเด็น  มิฉะนั้นผู้ชมอาจหมดความสนใจได้ง่าย 
4. การย่อหน้าส่งเสริมการอ่านได้มากกว่าการนำเสนอแบบท่อน/ตอน (blocked paragraphs) ถ้าทำเป็นหัวข้อย่อยได้จะสะดวกต่อผู้อ่าน 
5.  ภายในกราฟควรมีเฉพาะข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มบุคคลที่เข้าชม และจะดึงดูดความสนใจได้ดียิ่งขึ้น  ถ้าเป็นกราฟสี (ดีกว่าดำ-ขาว)  เพราะเห็นความแตกต่างได้ง่ายกว่า  หัวข้อกราฟและการติดฉลาก (label)  ด้วยอักษรทึบจะเด่นดีกว่า  มีรายงานว่าการใช้กราฟและรูปเป็นสิ่งจูงใจผู้ชมได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง รูปหนึ่งรูป มีค่าเทียบเท่าประมาณ 4000 คำ   
6.  การเรียงโปสเตอร์ก็สำคัญเช่นกัน ควรเรียงเป็นลำดับ อาจใส่ตัวเลขเล็ก ๆ แสดงลำดับไว้ด้วยก็ดี    
7.   ควรติดโปสเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา อย่าให้สูงหรือต่ำเกินไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น